ประวัติวิทยาลัยการศึกษา
วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา เดิมเป็นบัณฑิตวิทยาลัย สังกัดศูนย์วิทยบริการจังหวัดพะเยา ภายใต้ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร มีหลักสูตรที่รับผิดชอบ จำนวน 4 หลักสูตร ในปี พ.ศ. 2548 ศูนย์วิทยบริการจังหวัดพะเยา
ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา และบัณฑิตวิทยาลัย เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานการศึกษาภาคพิเศษ รับผิดชอบการบริหารจัดการหลักสูตรเพิ่มจากเดิมอีก 5 หลักสูตร และในวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา ในขณะเดียวกันสำนักงานการศึกษาภาคพิเศษ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง รับผิดชอบการบริหารจัดการหลักสูตร จำนวน 7 หลักสูตร ซึ่งในขณะนั้นมีหลักสูตรด้านการศึกษาที่ได้รับความนิยมจากครู
และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต และหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ต่อมาสภามหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้มีมติจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษา เป็นส่วนงานวิชาการ มีภารกิจด้านการศึกษา
รับผิดชอบการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษา ระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดพะเยา โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7(3) มาตรา 8 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553
ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป และให้ยุบเลิกวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง โดยให้โอนย้ายพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา สังกัดวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง ไปสังกัดวิทยาลัยการศึกษา
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก ดำรงตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยการศึกษาคนแรก ซึ่งท่านได้บริหารวิทยาลัยการศึกษา จนครบ 2 วาระ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 ถือได้ว่าท่านเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้พัฒนาวิทยาลัยการศึกษาจนมีชื่อเสียง
เป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักในฐานะสถาบันผลิตครูแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรผลิตครูคู่ขนาน 2 ปริญญา และมีระบบการนิเทศติดตามนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการศึกษาที่มีความทันสมัย ตามปรัชญา “การศึกษาเป็นฐานรากของมนุษย์”
มุ่งผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพที่เป็นสากล สอดคล้องกับปณิธาน “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน”
ปัจจุบันวิทยาลัยการศึกษา มีหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
1. หลักสูตรระดับปริญญาตรี ควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (4 ปี) จำนวน 10 แขนงวิชา ดังนี้
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา
|
จัดการศึกษาร่วมกับคณะต่าง ๆ ดังนี้
|
1.1 แขนงวิชาคณิตศาสตร์
1.2 แขนงวิชาเคมี
1.3 แขนงวิชาชีววิทยา
1.4 แขนงวิชาฟิสิกส์
1.5 แขนงวิชาพลศึกษา
|
คู่ขนานกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์
|
1.6 แขนงวิชาภาษาไทย
1.7 แขนงวิชาภาษาอังกฤษ
1.8 แขนงวิชาภาษาจีน
|
คู่ขนานกับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์
|
1.9 แขนงวิชาสังคมศึกษา
|
คู่ขนานกับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
|
1.10 แขนงวิชาดนตรีและนาฏศิลป์
|
คู่ขนานกับหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
|
2. หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 5 หลักสูตร ได้แก่
2.1 หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
2.2 หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
2.3 หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสะเต็มศึกษา
2.4 หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรทางการศึกษา
3. หลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่
3.1 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
3.2 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ คำขวัญ ค่านิยมร่วม สมรรถนะหลักและอัตลักษณ์บัณฑิต
ปรัชญา
|
การศึกษาเป็นฐานรากของมนุษย์
|
ปณิธาน
|
ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน (Wisdom for Community Empowerment)
|
วิสัยทัศน์
|
ผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีสมรรถนะสูงชั้นนำของประเทศ เพื่อนวัตกรรมทางการศึกษาของชุมชน สู่สากล อย่างยั่งยืน
|
พันธกิจ
|
1) ผลิตบัณฑิตครูที่มีสมรรถนะทางวิชาชีพ และมีทักษะแห่งอนาคต
2) พัฒนาครูและผู้บริหารให้มีสมรรถนะตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
3) วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเชิงพื้นที่สู่ความเป็นสากล
4) บริการวิชาการด้วยองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาให้มีความยั่งยืน
5) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้ภาคภูมิใจในท้องถิ่น
6) บริหารจัดการที่ทันสมัยและมีธรรมาภิบาลเพื่อมุ่งสู่องค์กรคุณภาพ
|
คำขวัญ
|
แกร่งกล้าวิชาการ เชี่ยวชาญวิชาชีพครู ชำนาญการสร้างสื่อนวัตกรรม
|
อัตลักษณ์
|
1. อัตลักษณ์ทางวิชาชีพ: มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
2. อัตลักษณ์ทั่วไป: มีสุนทรียภาพ มีสุขภาพดี มีบุคลิกภาพดี มีจิตภาพดี
|
ค่านิยมร่วม
|
S: Service Mind คือ ทำงานบริการด้วยจิตใจที่ดี มุ่งตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
E: Ethics and Excellence of Education คือ ทำงานยึดหลักจริยธรรม และมุ่งความเป็นเลิศด้านการศึกษา
U : Unity คือ ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่ง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
P : Professional คือ ทำงานอย่างมืออาชีพ เพื่อคุณภาพและมาตรฐาน
|
สมรรถนะหลักขององค์กร
(Core Competency)
|
1. การผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิขาชีพทางการศึกษา ด้วยหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษาควบสองปริญญา
2. การพัฒนาระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการศึกษาและการนิเทศแบบผสมผสาน โดยใช้เครือข่ายครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์
3. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการศึกษากับสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่
4. การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการตามมาตรฐานวิชาชีพและยึดมั่นประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัย
5. การสร้างเครือข่ายการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเรียนรู้สู่ความเป็นสากล
6. การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการรายวิชาชีพครูกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
7. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร
|
วัฒนธรรมองค์กร
(Organizational Culture)
|
ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนา
|
ประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาวิทยาลัยการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพบัณฑิตให้มีสมรรถนะทางวิชาชีพครูและทักษะแห่งอนาคต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเชิงพื้นที่สู่ความเป็นสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการบริการวิชาการด้วยองค์ความรู้ทางการศึกษาให้มีความยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้ภูมิใจในท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัยและมีธรรมาภิบาลสู่องค์กรคุณภาพ
สีประจำวิทยาลัยการศึกษา
สีทอง: หมายถึง "ความรุ่งเรืองแห่งปัญญา"
สีชมพู: หมายถึง "ความมีพลังและความคิดสร้างสรรค์"
สีทอง ชมพู: หมายถึง "ความมีพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์และความรุ่งเรืองแห่งปัญญา"